รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตขึ้นมาในโลกนี้ มีกี่ประเภทกันแน่ ก่อนซื้อรถไฟฟ้าต้องรู้

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตขึ้นมาในโลกนี้

รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตขึ้นมาในโลกนี้ มีกี่ประเภทกันแน่? ก่อนซื้อรถ EV สักคัน จะเลือกซื้อแบบไหนดี ที่นี่ มีคำตอบ…

ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติ และความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยเริ่มคึกคัก และให้ความสนใจกับรถไฟฟ้า EV กันอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่า ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเลือกซื้อรถ EV สักคัน ท่านจะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของรถไฟฟ้าบนโลกนี้เสียก่อน

ซึ่งทาง Metromobile ได้สรุปเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) Battery Electric Vehicle : รถยนต์ประเภทนี้จะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยรถยนต์ประเภทนี้ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน และไม่มีการปล่อยไอเสียจากท่อไอเสีย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย ซึ่ง BYD จะเป็นรถในประเภทนี้

2. รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) Hybrid Electric Vehicle : รถยนต์ไฮบริด เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ลูกผสม (Hybrid) และเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ไม่สามารถเสียบปลั๊กได้ แต่จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็น Generator และเปลี่ยนพลังงานจลน์กลับคืนเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ โดยเราเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative braking ซึ่งความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจะต่ำกว่ารถยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือ หรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ได้ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า

3. รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) Plug-in Hybrid Electric Vehicles : รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด นั้นมีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถที่จะชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ รถยนต์ประเภทนี้จะมีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์ สามารถทำงานในโหมดไฟฟ้าล้วน อาศัยแบตเตอรี่ หรือเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์เบนซิน เมื่อแบตเตอรี่หมด การอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอก และนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่นั้น ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV รถประเภทนี้จะเพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟขึ้นมาด้วย (plug-in)

4. รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) Fuel Cell Electric Vehicle : รถยนต์ประเภทนี้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน เพียงแต่แหล่งพลังงานนั้นมาจากพลังงานของก๊าซไฮโดรเจน โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เซลเชื้อเพลิง ทำให้ได้พลังงานส่งกำลังให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน แต่อย่างไรก็ตาม FCEV ยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) ปัจจุบันยังมีน้อยอยู่นั่นเอง

แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV ทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ทุกประเภทล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ มุ่งลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ลดโลกร้อน) ลดมลพิษทางอากาศ สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน

ต่อไปการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละประเภท มีประโยชน์ และข้อจำกัดในตัวเอง ซึ่งรถยนต์ BEV และ PHEV ให้การขับขี่ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และสามารถชาร์จได้จากสถานีชาร์จที่บ้าน หรือสาธารณะ  ในขณะที่ HEV และ FCEV มีระยะทางที่ไกลกว่า และสะดวกสบายกว่า เนื่องจากสามารถเติมเชื้อเพลิงได้เหมือนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแบบดั้งเดิม ซึ่งทางเลือกของ EV ขึ้นอยู่กับความต้องการในการขับขี่ ไลฟ์สไตล์ และความชื่นชอบของแต่ละท่านอีกด้วย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อท่านที่กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้อย่างแน่นอน

หากคุณกำลังสนใจรถ EV ขอรายละเอียด และขอทดลองขับ สัมผัสความคุ้มค่ากับ BYD ได้ที่ สาขาพระราม 3 และ สาขาตลิ่งชัน ได้แล้ว

Message us

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

  • คุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึก